วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์






กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช ) รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ธิดาพระยาพระยา เวียงในนฤบาล ประสูติ วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๑๗
การศึกษา พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) แล้วทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูรามสามิ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ใน สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น เปรียญ ) ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ พระองค์ได้เข้าพิธีพระราชโสกันต์ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ และทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลังจากเสร็จพระราชพิธีสมโภชแล้วจึงทรงเสด็จ มาประทับที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ในวันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๘ จึงลาสิกขาเสด็จกลับเข้าประทับในพระบรมหมาราชวัง รวมเวลาที่พระองค์ได้ ้ทรงผนวช ทั้งสิ้น ๒๒ วัน ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่นกรุงลอนดอนเป็น เวลา ๓ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย ไครส์ตเชิช แล้วได้ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้ทรงสอบ ไล่ผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของมหาวิทยาลัย ภายในเวลา ๓ ปี ช่วงขณะนั้นทรงมี พระชนมายุเพียง 20 พรรษา เนื่องจากช่วงเวลานั้น ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการรุกรานของฝรั่งเศส ในพุทธ ศักราช ๒๔๓๖ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ได้เสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงฝึกหัดราชการในกรมราชเลขานุการ และได้ทรงศึกษากฎหมาย ไทยทั้งหมดที่หม่อมลัดเลย์ได้พิมพ์ไว้ พระองค์ทรงแตกฉานในกฎหมายไทยและสามารถปฏิบัติราชการได้อย่างคลองแคล้ว

พระราชกรณียกิจ - เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่ทรงมี พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นลำดับที่ ๓ และทรงวางระเบียบศาลยุติธรรมโดยออกเป็นกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ( พิจารณาความแพ่ง,พิจารณาอาญา ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ) พระองค์ทรงจัดให้มีการสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นการแพร่หลาย ให้โอกาสบุคคลที่สนใจทั่วไป เข้าศึกษาได้ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นมา - เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ เป็นการเปิดการสอนกฎหมายครั้งแรก - ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหมื่น โดยมีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ - เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ได้ทรงดำริจัดตั้งกรมพิมพ์ลายมือขึ้นที่กรงลหุโทษ และได้ทรงสอนวิธีตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา - ครั้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ กรมหลวงราชบุรีฯ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลว่าประชวร โดยมีอาการปวดพระเศียร คิดและทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น หมอไรเตอร์ตรวจพระอาการแล้วว่าต้องหยุดการทำงาน พักรักษาพระองค์ - ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ และทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๕ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๒ เสด็จในกรมฯ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเพื่อเปิดโอกาสให้ทรงเลือกสรรให้ผู้อื่นได้รับหน้าที่ต่อไป และได้เสด็จ ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการก็หาทุเลาขึ้นไม่ จนกระทั่งในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๓ เวลา ๒๑.๐๐ น. พระองค์ก็เสด็จสิ้นพระชน ณ กรุงปารีส นับพระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา อันนำความเศร้า โศกเสียใจมาสู่วงการนักกฎหมายไทยยิ่งนัก ด้วยเหตุที่ทรงมีพระคุณต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการ ด้วยพระเกียรติคุณอันจะสุดพรรณนา ทำให้ประชาชนทั่วไป ถวาย พระสมญานามว่า “ พระบิดาและปรมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย ” และเรียกวันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปี ว่าวัน “ รพี ”
คติพจน์ประจำพระองค์
คนเราควรจะให้
แต่ไม่ควรจะขออะไรจากผู้อื่น
ควรกินพอประมาณ
ไม่ควรจะมากเกินไปถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือคนอื่น
ไม่ใช้เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้
ไม่ควรคิดเป็นนายคน

*********************************